ในขณะที่สถานการณ์น้ำค่อย ๆ คลี่คลายไปทีละพื้นที่ ผู้คนก็เริ่มกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ แต่ก็ยังมีคำถามอีกมากมายที่ยังค้างคาใจอยู่ : ในอนาคตน้ำจะท่วมอีกไหม น้ำจะมาเมื่อไร เราจะรู้ได้ยังไง เราจะรับมือกับมันยังไง เราจะทำยังไงให้น้ำท่วมครั้งนี้เป็นบทเรียนให้เราเข้มแข็งขึ้นในการรับมือกับน้ำท่วมในคราวหน้า เพื่อให้เราไม่เป็นอย่างที่หลายเคยพูดกันเป็นประจำว่าคนไทยลืมง่าย วันนี้เรามีเก้าเรื่องในน้ำท่วมที่เราไม่อยากให้คุณลืมมาให้ดูกัน 1.เราจะเสียหายไปอีกนานแค่ไหน น้ำท่วมครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายมูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท คำว่ามูลค่าความเสียหายไม่ใช่แค่ข้าวของที่พัง แต่สิ่งที่สำคัญในการคำนวณความเสียหายที่ไม่เคยนึกถึงก็คือค่าสูญเสียโอกาส สมมุติว่าเราเป็นนักเขียน ได้เงินเดือนละสองหมื่นบาท ทำงานด้วยโต๊ะราคาหนึ่งพันบาท คอมพิวเตอร์หนึ่งตัวราคาสามหมื่นบาท ถ้าน้ำท่วมจนโต๊ะและคอมพิวเตอร์พัง ความเสียหายไม่ใช่แค่…
เมื่อได้ยินคำว่าน้ำลด คนส่วนใหญ่ย่อมดีใจที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ แต่คำว่าน้ำลดอาจไม่ใช่สิ่งที่ยินดีที่สุดสำหรับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ประสบภัยน้ำท่วมบ้านไปแล้ว เพราะแม้น้ำจะลดแต่ความกังวลเรื่องสภาพบ้านหลังน้ำท่วมไม่ได้ลดลงตามเลย หลายคนจินตนาการไม่ออกว่าบ้านที่เราเคยอยู่จะเป็นอย่างไร จะมีอะไรเสียหายบ้าง และเราจะเริ่มต้นฟื้นฟูอย่างไร เพื่อให้เราเตรียมใจเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพบ้านหลังน้ำท่วม วันนี้เราลองไปดูสถานการณ์สมมุติจากบ้านของนายสติและบ้านของครอบครัวมาสเตอร์ของนายพอเพียง หรือเพ้นท์ มาสเตอร์กันดีกว่าว่าหลังน้ำลดจะต้องเจอกับอะไรบ้าง (Porpiang Writer Special : Flood Attack 2011) “Porpiang Writer ซีซั่นพิเศษ ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม…
ท่ามกลางวิกฤติน้ำท่วมที่ยาวนาน น้ำที่เริ่มเน่าเสียทำให้เราทุกคนเริ่มหาทางแก้ อีเอ็มบอลหรือลูกบอลจุลินทรีย์ ก็ดูจะเป็นเสมือนความหวัง แต่ก็ยังเต็มไปด้วยคำถามว่ามันใช้ได้จริงหรือเปล่า? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักมันให้มากขึ้น และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียไปพร้อม ๆ กัน แต่ก่อนจะเข้าใจเรื่องอีเอ็มได้ เราต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำเสียคืออะไร น้ำเสียไม่ใช่แค่น้ำที่มีสีดำหรือมีกลิ่นเหม็น แต่เป็นน้ำที่มีออกซิเจนไม่มากพอ สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ ดังนั้นน้ำที่เราเห็นว่าใสแต่มีออกซิเจนไม่พอหรือมีสารพิษเจือปนก็นับเป็นน้ำเสียได้เช่นกัน แล้วน้ำเสียเกิดจากอะไร เราลองไปตั้งต้นกันดูที่พื้นฐานสักนิด ว่าในน้ำมีอะไรบ้าง สามสิ่งที่มีในน้ำและเราควรรู้จักได้แก่ : 1.สารประกอบ เช่น ออกซิเจน ซัลเฟต ไฮโดรเจน…
ในช่วงภาวะน้ำท่วมอย่างนี้ เราเชื่อว่าหลายครอบครัวคงมีความกังวลเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ บางบ้านเล่าต่อ ๆ กันว่า น้ำที่บ้านมีสีและกลิ่นที่ผิดปกติ ยิ่งมีข่าวว่าน้ำประปาปนเปื้อน ยิ่งทำให้เรากังวลไปกันใหญ่ ว่าน้ำท่วมส่งผลกระทบกับระบบน้ำดื่มน้ำใช้ของเราอย่างไรบ้าง แต่ก่อนที่เราจะตอบคำถามนั้นได้ เราลองไปทำความรู้จักกับระบบน้ำประปาของเราให้มากขึ้นกันก่อนดีกว่า น้ำประปามาจากไหน? เมื่อฝนตกลงมา พื้นแผ่นดินบางส่วนได้รองรับน้ำเอาไว้ จนกลายเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ทั้งแม่น้ำและลำคลอง และเมื่อเราต้องการแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ แต่ไม่รู้ว่ามีอะไรเจือปนอยู่ในน้ำบ้าง เราจึงจัดการน้ำให้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานหนึ่งที่เรียกว่า การประปา ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการผลิตน้ำให้ได้มาตรฐาน การประปาได้ตัดคลองจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติออกมา เรียกว่าคลองประปา เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำดิบ จากนั้นน้ำดิบจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการปรับคุณภาพน้ำ…
เราเชื่อว่าทุกคนต้องเคยเห็นภาพนี้ ภาพที่ชั้นวางของเกลี้ยงสนิท ไม่ว่าจะเป็นที่มินิมาร์ทเล็ก ๆ หรือซูเปอร์สโตร์ขนาดใหญ่ เราแตกตื่นกันว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนสินค้า น้ำดื่มขึ้นราคา 3-4 เท่า ข้าวสารอาหารแห้งเริ่มขาดตลาด ไหนจะไม่แน่ใจว่าครอบครัวของเราจะตกเป็นผู้ประสบภัยอยู่ในบ้านเป็นเวลานานหรือเปล่า หลายคนจึงเริ่มซื้อไปกักตุน จากซื้อน้ำทีละสองสามขวด ต้องซื้อทีละสิบขวดเผื่อของขาดตลาด ยิ่งซื้อเยอะของยิ่งหมดเร็ว พอหมดเร็วก็กลัวว่าจะหาซื้อไม่ได้ ทันทีที่ของมาก็ซื้อเยอะ ยิ่งซื้อเยอะของก็ยิ่งหมดเร็ว ทั้งเยอะทั้งเร็ว จนชวนให้สงสัยว่าเราอยู่ในภาวะขาดแคลนสินค้าจริงหรือเปล่า? เราลองถอยมาดูภาพรวมของกำลังผลิตทั้งประเทศกัน เริ่มต้นที่น้ำดื่ม ปกติแล้วคนเราบริโภคน้ำดื่มที่วันละประมาณสองลิตร รวมคนไทยทั้งประเทศจะดื่มได้วันละ 134…
หลังการประกาศเตือนภัย เราคงจะพอเห็นได้ว่าบางพื้นที่ในกรุงเทพฯ เริ่มมีน้ำเข้ามาแล้ว บางครอบครัวเริ่มทยอยอพยพออกไป บางครอบครัวก็อยู่กับบ้านตามปกติ สำหรับใครที่ยังอยู่กับบ้านลองพิจารณาสามสิ่งที่ต้องสังเกตอีกครั้ง (แบบที่กล่าวไปเมื่อตอนที่ 4) – เช็คระดับน้ำ ทั้งบ้านเราเองและบริเวณใกล้เคียง – สุขภาพของคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วย คนชรา คนพิการ – ดูความพร้อมที่เตรียมไว้ หากวันนี้สถานการณ์ที่คุณอยู่ในกรณีที่คุณคิดว่าควรจะอพยพ เราจะพาคุณไปเตรียมตัวกัน ขั้นตอนการเตรียมตัวอพยพ ถ้าจะให้จำง่าย ๆ ก็เหมือนกับการไปเที่ยว…
สำหรับใครที่เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมไว้อย่างดีแล้ว ก็อาจจะยังคงกังวลว่าถ้าน้ำมาจริง ๆ จะรับมือไหวหรือเปล่า ถ้าคุณกังวลอยู่ ลองติดตามข่าวสารและประเมินสถานการณ์อีกครั้ง สามสิ่งที่ต้องสังเกต : 1.ระดับน้ำ ให้พิจารณาระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในพื้นที่ใกล้เคียง 2.สุขภาพของคนในครอบครัว เด็ก ผู้ป่วย คนชรา คนพิการ อาจทนต่อภาวะน้ำท่วมได้ยากกว่าคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 3.ความพร้อมที่เตรียมไว้ ทั้งความเป็นอยู่หากน้ำมา และปกป้องทรัพย์สินมีค่าในกรณีที่ต้องอพยพ ลองพิจารณาสามสิ่งนี้ตามสภาพการณ์ของคุณเอง เพราะท้ายที่สุดการตัดสินใจว่าจะอพยพหรือไม่เป็นของแต่ละครอบครัวซึ่งมีปัจจัยต่างกัน แต่ถ้ายังไม่มั่นใจว่าถ้าไม่อพยพจะอยู่ได้หรือไม่ ลองไปดูวิธีการอยู่กับน้ำกันครับ 1.ความปลอดภัยในบ้าน ไฟฟ้าเป็นสิ่งแรกที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้…
ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ว่าน้ำจะท่วมบ้านเราหรือไม่ สิ่งหนึ่งที่เราพอจะทำได้ก็คือ การเตรียมบ้านของเราให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ แม้ภัยพิบัติมาเราก็ยังดูแลตนเองได้ และไม่ตกเป็นผู้ประสบภัยแน่นอน อย่าคิดว่าการเตรียมบ้านเพื่อรับมือกับน้ำท่วมเป็นเรื่องยุ่งยาก เพียงแค่ตั้งสติและค่อย ๆ ตรวจสอบบ้านของคุณตามสามขั้นตอนดังนี้ 1.ตรวจสอบรอบบ้าน ดูว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่บ้านของเราเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมโดยรวมเพื่อประเมินสถานการณ์ ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมบริเวณบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่น้ำท่วม ที่สำคัญที่สุดคือควรตรวจสอบหน่วยงานให้ความช่วยเหลือที่สำคัญหรือศูนย์อพยพใกล้เคียง ควรรู้เส้นทางหรือหมายเลขโทรศัพท์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในยามฮุกเฉินที่เราต้องการช่วยเหลือ 2.จัดการสินทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ การป้องกันน้ำเข้า และจัดการกับเข้าของ การป้องกันน้ำเข้า อันดับแรกคือการปิดประตูและหน้าต่างที่อยู่ต่ำ และจัดการกับรอบต่อตามจุดต่าง…
สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้หลายคนเริ่มสงสัยว่าจะเอาตัวรอดได้หรือไม่ เมื่อพยายามค้นหาคำตอบจากหลายที่ก็พบว่ามีข้อมูลมากมายจนจับต้นชนปลายแทบจะไม่ถูก ปัญหาคือ เราไม่รู้ว่าข้อมูลไหนบ้างที่จำเป็นต่อการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ข้อมูลหลายอย่างอาจฟังดูยากและสับสนในช่วงแรก แต่ถ้าเราค่อย ๆ ทำความรู้จักมันละก็ ความไม่รู้และกังวลจะหมดไป ในวันนี้เราจะมาตอบสามคำถามสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถประเมินสถานการณ์น้ำท่วมได้ง่ายด้วยตนเอง ไม่ต้องรอคำตอบจากใคร เพื่อที่คุณจะได้เตรียมพร้อมและหลีกเลี่ยงการเป็นผู้ประสบภัยแม้น้ำจะมาถึงแล้ว คำถามข้อแรกคือ : บ้านเราจะท่วมหรือไม่? คำถามนี้กวนใจตลอดเวลา กลางวันไม่เป็นอันทำงาน กลางคืนนอนหลับไม่ลง อย่างแรกที่คุณต้องรู้คือจุดยุทธศาสตร์ของเรา รู้จักเขตที่บ้านเราอยู่ ดูว่าอยู่จุดไหนของแผนที่ รวมถึงจดจำเขตใกล้เคียงในละแวกบ้าน เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลได้เวลาฟังข่าวตามสื่อต่าง ๆ รู้ทิศทางการระบายน้ำออกสู่ทะเล…
ถ้าเราลองสังเกตรอบตัวดู จะพบว่าในช่วงวิกฤติน้ำท่วม มีคนมากมายหลายประเภท บางคนชอบติดตามข่าว เกาะติดสถานการณ์ แต่โทรทัศน์ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เราอยากรู้เลย ถึงจะหันไปดูข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็มีไหลล้นทะลักออกมาเสียจนเลือกไม่ถูก แค่ค้นคำว่า “น้ำท่วม” ใน Google ก็จะพบการค้นหาถึงสามสิบหกล้านรายการ จึงหมายความว่า น้ำยังไม่ทันจะท่วม ข้อมูลดันมาท่วมเสียก่อน บางคนทำทุกอย่างที่ได้แชร์ในเฟซบุ๊ค ตุนข้าวของ จอดรถบนทางด่วน ซื้อเรือ ตื่นตระหนกไปกับทุกข่าวทุกข้อมูล แต่บางคนก็เฉย ๆ เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเราไม่รู้จริง ๆ…