ตอนที่ 9 ตั้งหลัก หลังน้ำลด ฉบับตัวอักษร
เมื่อได้ยินคำว่าน้ำลด คนส่วนใหญ่ย่อมดีใจที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ แต่คำว่าน้ำลดอาจไม่ใช่สิ่งที่ยินดีที่สุดสำหรับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ประสบภัยน้ำท่วมบ้านไปแล้ว เพราะแม้น้ำจะลดแต่ความกังวลเรื่องสภาพบ้านหลังน้ำท่วมไม่ได้ลดลงตามเลย หลายคนจินตนาการไม่ออกว่าบ้านที่เราเคยอยู่จะเป็นอย่างไร จะมีอะไรเสียหายบ้าง และเราจะเริ่มต้นฟื้นฟูอย่างไร เพื่อให้เราเตรียมใจเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพบ้านหลังน้ำท่วม วันนี้เราลองไปดูสถานการณ์สมมุติจากบ้านของนายสติและบ้านของครอบครัวมาสเตอร์ของนายพอเพียง หรือเพ้นท์ มาสเตอร์กันดีกว่าว่าหลังน้ำลดจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
(Porpiang Writer Special : Flood Attack 2011)
“Porpiang Writer ซีซั่นพิเศษ ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม 2011 ตอน จัดบ้านใหม่หลังน้ำลดลง”
ก่อนเข้าบ้าน ลองตรวจสอบข่าวสารและสถานการณ์ให้แน่ใจที่สุดก่อนจะกลับเข้าไป เพื่อที่จะได้ไม่ต้องย้ายเข้าออกหลายรอบ ไม่ควรเข้าไปคนเดียว เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะได้มีคนคอยช่วยเหลือได้
เตรียมอุปกรณ์จัดการบ้านมาให้พร้อม เช่นไม้กวาดทางมะพร้าว ถุงขยะ ไม้ถูพื้น แปรงขัด ผ้าขี้ริ้ว ถังน้ำ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน ควรพกอุปกรณ์ตรวจสอบไฟรั่วและไฟฉายติดตัวไปด้วย และที่สำคัญควรแต่งการให้มิดชิด ใส่ผ้าปิดปาก ถุงมือยาง รองเท้าบู๊ตยางตั้งแต่ก่อนเข้าบ้าน เพราะนอกจากจะป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ แล้ว ยังสามาถป้องกันกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่ต้องระวังอย่าให้มีรูรั่วนะครับ!
หลังจากเตรียมพร้อมแล้ว ศึกษาเส้นทางให้ดีเพื่อวางแผนเข้าบ้าน โดยหลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำท่วม เมื่อมาถึงบ้านขอให้คุณเตรียมใจไว้ให้ดี สิ่งที่คุณจะต้องได้เจออาจทำให้คุณเหนื่อยหรือท้อใจ แต่มันคือสิ่งที่คุณต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเราไม่มีสติเราจะไม่สามารถรับมือกับสภาพบ้านหลังน้ำท่วมได้เลย ทันทีที่คุณเปิดประตูบ้านเข้าไป คุณจะต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้…
(Porpiang Writer Special : Flood Attack 2011)
(โฆษณา Porpiang TV Shopping)
“คุณกำลังกังวลกับอันตรายจากไฟฟ้ารั่วใช่หรือไม่ แม้น้ำท่วมที่บ้านของคุณจะลดลงแล้ว แต่ก็ยังกังวลว่ากระแสไฟฟ้าจะใช้ได้หรือเปล่า”
(ภาพตัดไปที่พอเพียงอยู่ในสตูดิโอช่วงโฆษณาพอเพียงทีวีช็อปปิ้ง)
“แต่ปัญหาคือไฟฟ้ารั่วแค่ไม่กี่สิบโวลต์ก็อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้นะครับ!” พอเพียงตอบ “ส่วนใครที่มีไขควงวัดไฟและมีเบรคเกอร์หรือฟิวส์ตัดไฟแล้วคิดว่ามันโอเค ขอให้คุณทบทวนให้ดี ๆ เสียก่อน เพราะถ้าบ้านคุณแห้งสนิทก็ยังพอใช้ได้ แต่ถ้าบ้านคุณชื้นหรือมีน้ำนองอยู่มันอันตรายนะครับ!”
พอเพียงหยิบไขควงวัดไฟฟ้าขึ้นมาจากกระเป๋าเสื้อคลุม
“ไขควงวัดไฟฟ้าโดยทั่วไปออกแบบมาสำหรับวัดว่าสายไฟมีกระแสไฟฟ้าอยู่หรือเปล่า ซึ่งจะทำงานที่แรงดันไฟฟ้าประมาณ 80 – 90 โวลต์นะครับ” พอเพียงบอก “นั่นหมายความว่าถ้าไม่ใช่อุปกรณ์ที่ผลิตเฉพาะสำหรับตรวจไฟรั่วในภาวะน้ำท่วม จะเอามาใช้วัดไฟฟ้าเล่น ๆ ไม่ได้นะครับ!”
“อ้าว แล้วฟิวส์หรือเบรคเกอร์ตัดไฟล่ะเพ้นท์?” โซเฟียถามและเดินเข้ามาในฉากทางด้านขวาของจอ “มันช่วยอะไรได้ไหม?”
“มันมีไว้สำหรับตัดไฟเกิน แต่กรณีไฟรั่วมันไม่ช่วยอะไรเลยน่ะสิ” พอเพียงตอบ
“อ้าว แล้วถ้าพวกเราจะกลับบ้านแล้วเราจะทำยังไงดีล่ะ” ภัททิต้าถาม และเดินมาในฉากพร้อมกับยินนา ซึ่งทั้งคู่มาทางด้านซ้ายของจอ
“นั่นสิ” ยินนาเสริม
“ตัดก่อนสิ!” พอเพียงตอบและชี้นิ้วไปยังภัททิต้ากับยินนาจนทั้งสองผงะ “ตัดระบบไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบว่าใช้ได้หรือเปล่า ไม่ว่าจะเต้ารับ สวิตช์ สายไฟทุกเส้นที่เคยถูกน้ำท่วม ต้องเช็กให้มั่นใจว่าไม่มีไฟรั่ว แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่ก็จะดีที่สุดเลยนะ”
“อืม งั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม อย่าใช้งานเลยจะดีกว่า” ภัททิต้าบอกและหันไปทางกล้อง “จนกว่าจะผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญว่าใช้ได้จริง”
“และต้องระวังเรื่องความชื้นและคราบสนิมที่ขั้วของเต้ารับและภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยนะ” โซเฟียพูดและหันไปทางกล้อง “เพราะถ้าใช้งานอาจเกิดความร้อน จนถึงขั้นฉนวนไฟฟ้าชำรุดและอาจเกิดเพลิงไหม้ได้”
“ใช่ ๆ” ยินนาว่าและหันไปทางกล้อง “ต้องตรวจเช็คให้ครบทั้งระบบก่อนจึงจะเปิดใช้งานได้ตามปกติ”
“แสดงว่าพวกเธอทุกคนรู้กันหมดแล้วสินะว่าจะใช้ไฟฟ้าหลังน้ำท่วมได้ยังไง” พอเพียงพูด จากนั้นหันไปทางกล้อง “แล้วคุณล่ะครับ รู้การใช้ไฟฟ้าหลังน้ำท่วมแล้วหรือยัง และถ้ารู้แล้ว คุณรู้ได้ดีเท่าพวกเราหรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจโทรที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร 1129 และการไฟฟ้านครหลวง 1130 สำหรับวันนี้ พวกเราสี่คนขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ!”
“สวัสดีครับ!” ภัททิต้าพูด
“สวัสดีค่า!” โซเฟียกับยินนาพูด
และทั้งหมดยกมือไหว้และโบกมือบ๊ายบายให้กล้อง ก่อนภาพจะตัดไปที่…
(Porpiang Writer Special : Flood Attack 2011)
เตรียมใจไว้เลยว่าบ้านที่ถูกน้ำท่วมจะเต็มไปด้วยความชื้น กลิ่นอับ เศษขยะที่มากับน้ำท่วม เชื้อรา บางบ้านที่เจอน้ำไหลแรง ข้าวของอาจล้มเสียหาย แต่อย่าเพิ่งถอดใจครับ บ้านอื่น ๆ ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตั้งสติให้ดี เราจะค่อย ๆ แก้ไขมันให้ได้อย่างแน่นอน
อย่างแรกคือการเปิดบ้านให้อากาศได้ถ่ายเท ปล่อยให้อากาศไหลเวียนในบ้านสักพักแล้วค่อยเข้าบ้าน ระหว่างที่เดินสำรวจความเสียหาย อย่าลืมถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่ต้องเบิกค่าชดเชย
ก่อนที่จะเริ่มทำความสะอาด เราต้องจัดการขยะเสียก่อน ลองนึกภาพปริมาณขยะของบช้านเราคูณกับจำนวนบ้านในละแวกใกล้เคียง ถ้าทุกบ้านทิ้งขยะออกมากองนอกบ้านพร้อมกันจะเกิดปริมาณขยะมหาศาล ปัญหาขยะจึงไม่ใช่เรื่องของแต่ละครอบครัว แต่เป็นเรื่องของชุมชนในภาพรวม
ยกตัวอย่างขยะที่น้ำท่วมพัดพามาจนอุดตันในท่อระบายน้ำหน้าบ้านเรา ถ้าทุกบ้านช่วยกันฉีดน้ำไล่ไปตามท่อ ขยะอาจไหลไปกองรวมกัน อาจทำให้ท่อระบายน้ำสาธารณะตันจนไม่สามารถระบายน้ำได้ แต่ถ้าเราตักมันขึ้นมาแล้วทิ้งให้ถูกวิธี ท่อระบายน้ำก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ ส่วนขยะทั่วไปภายในบริเวณบ้าน วิธีที่เราพอจะมีส่วนช่วยได้คือการคัดแยกขยะนั่นเอง…
(Porpiang Writer Special : Flood Attack 2011)
(รู้ไหมครับว่าขยะทั้งหมดทิ้งไปเป็นกองภูเขาสูงมาก ถ้าจะให้กลบฝังเพื่อย่อยสลายก็หลายร้อยปี ถ้าเราช่วยกันแยกขยะ มีซาเล้งช่วยเก็บไปขายต่อได้ดี หรือไม่ก็บดหลอมเพื่อรีไซเคิลก็ได้ หรืออาจจะเป็นเชื้อเพลิงได้ เห็นไหมครับว่าขยะมีค่า! แยกประเภทขยะเอาไว้ จะได้ให้คัดเลือกถูกว่าอันไหนโลหะ พลาสติก แก้ว โฟม หรือขยะอันตราย ทั้งหมดนี้เป็นความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อคุณผู้อ่านนะครับ)
(Porpiang Writer Special : Flood Attack 2011)
หลังจากจัดการขยะเรียบร้อยก็ได้เวลาล้างบ้านกันสักที ซึ่งข้อควรระวังที่สุดสำหรับการล้างบ้านคือเชื้อรา เพราะเชื้อรามีทั้งแบบที่มองเห็นได้และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หากเราสูดดมเชื้อรามาก ๆ ก็ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบได้
การทำความสะอาดเชื้อรามีข้อควรระวังดังนี้ :
การใช้น้ำแรงดังสูงฉีดจะยิ่งทำให้เชื้อราฟุ้งกระจาย ควรใช้วิธีราดน้ำ เช็ดขัดจะดีกว่า
สารทำความสะอาดเบื้องต้น ใช้สบู่เหลวหรือผงซักฟอกผสมน้ำทำความสะอาดได้เลย แต่หากมีเชื้อราอยู่มาก ใช้แอลกอฮอล์เช็ดซ้ำอีกรอบ หรือจะใช้น้ำยาฟอกขาวผสมน้ำเช็ดก็ได้ แต่ต้องผึ่งให้แห้งก่อนนำกลับมาใช้นะครับ
ล้างบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดประตูบ้านทิ้งไว้ ให้อากาศถ่ายเท รอจนกว่าจะแห้ง
สิ่งที่เราทำได้ระหว่างรอคือการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
ขั้นตอนต่อไปจากนี้คือการซ่อมแซม แต่ละบ้านมีสิ่งที่ต้องซ่อมแซมแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราจะทิ้งอะไรและซ่อมอะไรบ้าง ก็คงเป็นการตัดสินใจของแต่ละครอบครัว และสิ่งที่ต้องซ่อมแซมก็ไม่ใช่แค่บ้าน แต่ยังมีเรื่องของสภาพจิตใจด้วย ไม่มีอะไรที่จะฟื้นฟูสภาพจิตใจของครอบครัวได้ดีไปกว่าคนในครอบครัวเอง ลองตั้งสติสักนิด พูดคุยกันมากขึ้น เพื่อวางแผนการฟื้นฟูบ้านของคุณให้กลับมาเหมือนเดิม
เราได้รวบรวมลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูบ้านไว้ด้านล่าง ลองเลือกศึกษาตามเรื่องที่เหมาะสมกับสภาพบ้านของคุณดูนะครับ :
(ขอบคุณข้อมูลจาก รู้สู้ Flood และไทยพีบีเอส)